string(50) "https://robere.com/wp-content/themes/elumine-child"
Process Safety Management (PSM) Internal Auditor ผู้ตรวจประเมินภายในการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต
3 วัน
เพื่อให้สอดคล้องกับข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2549 ซึ่งมีผลบังคับเมื่อพ้นกำหนด 5 ปี (14 พ.ค. 2564) นับแต่วันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้แล้วกับผู้ประกอบกิจการใน นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) นิคมอุตสาหกรรมผาแดง นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ที่มี:
(1) กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตรายร้ายแรงในปริมาณครอบครอง ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง เท่ากับหรือมากกว่าปริมาณที่กาหนดในบัญชีท้ายข้อบังคับนี้ หรือ
(2) กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับแก๊สไวไฟหรือของเหลวไวไฟ ที่มีปริมาณครอบครองตั้งแต่ 4,545 กิโลกรัมหรือ 10,000 ปอนด์ขึ้นไป ณ เวลาใดเวลาหนึ่งเว้นแต่แก๊สไวไฟหรือของเหลวไวไฟซึ่งใช้เป็นเชื้อเพลิง เช่น หม้อน้ำหรือยานพาหนะ
ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต้อง
จัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต (PSM)
ตรวจประเมินภายใน ทุก 1 ปี
ตรวจประเมินภายนอก ทุก 3 ปี หรือกรณีเกิดอุบัติเหตุเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับ ความปลอดภัยกระบวนการผลิต หรือกรณีการขอขยายกาลังการผลิตที่กระบวน การผลิตเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยกระบวนการผลิต (ไม่ใช่การขยายพื้นที่)
ยื่นรายงานการตรวจประเมินภายนอกประกอบการยื่น ขอต่ออายุ/ขออนุญาต ต่อ กนอ.
ทั้งนี้เพื่อให้บุคลากรบรรลุคุณสมบัติพื้นฐานด้านการฝึกอบรมเพื่อเป็นผู้ตรวจประเมินภายในการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิตตามประกาศการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ 116/2561 จึงจัดให้มีหลักสูตรการฝึกอบรมนี้
เจ้าหน้าที่ หรือ พนักงานที่เกี่ยวข้อง หรือ ผู้ที่สนใจทั่วไป
- มีความเข้าใจภาพรวมข้อบังคับฯ ความรู้ การนำไปใช้ องค์ประกอบ และแนวทางการตรวจประเมินภายในการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต
- บรรลุคุณสมบัติพื้นฐานด้านการฝึกอบรมเพื่อเป็นผู้ตรวจประเมินภายในการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต (PSM) ตามประกาศการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ 116/2561
1. ภาพรวมข้อบังคับฯ และการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต 2 ชั่วโมง
– ความเข้าใจในข้อบังคับฯ
– ความสำคัญและความจำเป็นของการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต (PSM) โดยองค์รวม
2. ความรู้ การนำไปใช้และองค์ประกอบการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต 14 ชั่วโมง
– การมีส่วนร่วมของพนักงาน
– ข้อมูลความปลอดภัยกระบวนการผลิต
– การวิเคราะห์อันตรายกระบวนการผลิต
– ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
– การฝึกอบรม
– การจัดการความปลอดภัยผู้รับเหมา
– การทบทวนความปลอดภัยก่อนการเริ่มเดินเครื่อง
– ความพร้อมใช้ของอุปกรณ์
– การอนุญาตทำงานที่อาจทำให้เกิดความร้อนและประกายไฟ และการอนุญาตทำงานที่ไม่ใช่งานประจำ
– การจัดการการเปลี่ยนแปลง
– การสอบสวนอุบัติการณ์
– การเตรียมความพร้อมและการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน
– การตรวจประเมินภายใน
– ความลับทางการค้า
– การอนุญาตทำงานที่อาจทำให้เกิดความร้อนและประกายไฟ และการอนุญาตทำงานที่ไม่ใช่งานประจำ
– การจัดการการเปลี่ยนแปลง
– การสอบสวนอุบัติการณ์
– การเตรียมความพร้อมและการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน
– การตรวจประเมินภายใน
– ความลับทางการค้า
3. แนวทางการตรวจประเมินภายใน 2 ชั่วโมง
– กรอบความคิดของผู้ตรวจประเมินภายใน
– คุณสมบัติ คุณลักษณะ และการแต่งตั้งคณะผู้ตรวจประเมินภายใน
– จรรยาบรรณของผู้ตรวจประเมินภายใน
– ตัวอย่างแบบตรวจประเมินของผู้ตรวจประเมินภายใน
– ขั้นตอนการตรวจประเมินภายใน ได้แก่ การเตรียมการก่อนการตรวจประเมินภายใน วิธีการตรวจประเมินภายใน การหาหลักฐานจาก 3P (People–Paper–Process or Practice) หลักการเขียนข้อบกพร่อง เป็นต้น
– การจัดทำรายงานการตรวจประเมินภายในและสรุปผล
– การติดตามผลการดำเนินการตรวจประเมินภายใน
ลงทะเบียนเวลา 8:30 น. เริ่มฝึกอบรม เวลา 9.00 น. - 16:30 น. พักเวลา 10:15 – 10.30 น. และ 14:15 – 14.30 น. และ พักกลางวัน เวลา 12.00 - 13.00 น.